ทำไม “การเจรจาต่อรอง” ถึงไม่ได้ดี

สงสัยหรือไม่ ทำไม? “การเจรจาต่อรอง” ถึงไม่ได้ดี ว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริง ทำให้คนเจรจาต่อรอง แล้วไม่ได้ตามที่ตปรารถนาทำให้คนส่วนใหญ่จะกลัว การเจรจาต่อรอง ไม่กล้า ปฏิเสธการเป็นผู้เจรจาต่อรอง มีเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้นที่กล้าที่จะ เจรจาต่อรองถึงแม้ในใจลึก ๆ ก็แฝงด้วยความกลัวที่ตนเองมีอยู่ สำหรับความกลัวที่คนส่วนใหญ่กำลังเผชิญอยู่ เป็นเหตุให้ตนเองนั้นไม่ชอบหรือปฏิเสธที่จะ เจรจาต่อรอง เป็นความกลัวทั้ง 5 ดังต่อไปนี้

  1. กลัวการถูกปฏิเสธจากผู้อื่น เป็นการยากที่จะเข้าใจถึงสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ แต่อาจจะเป็นการฝังใจในอดีต เช่นเด็กร้องไห้เพื่อตามพ่อแม่ไปธุระข้างนอก แต่ถูกปฏิเสธ ทำให้ตนเองนั้นกลัวที่จะถูกปฏิเสธในการร้องขอให้ผู้อื่นช่วยเหลือ ความกลัวนี้เป็นสิ่งที่ตนเองนั้นจะรู้สึกเสียใจต่อการถูกปฏิเสธและรับไม่ได้เมื่อคนที่ต้องติดต่อด้วยปฏิเสธดังนั้นหลายคนรู้สึกยินยอมหรือยอมแพ้เพราะ ไม่ต้องการฟังคำปฏิเสธจากผู้อื่น คนที่อยู่ในปประเภทนี้ จึงไม่กล้า เจรจาต่อรอง เพราะกลัวการถูกปฏิเสธจากคู่เจรจาต่อรอง ในระหว่างการเจรจาต่อรอง นั่นเอง ทำไม? “การเจรจาต่อรอง” ถึงไม่ได้ดี
  2. .ความกลัวเนื่องมาจากการโดนว่าจู่จี้ เป็นความกลัวที่หลายคนไม่ชอบเพราะเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีตนเองมีอยู่ ในบางครั้งก็รู้ว่านี่คือกลวิธีที่ถูกนำมาใช้เพื่อให้ยินยอม แต่ก็รับความรู้สึกนั้นไม่ได้ ในที่สุดก็ต้องยอมรับไปโดยปริยาย เช่น ในระหว่างการเจรจาต่อรอง แม่ค้ามักพูดว่า “ราคาก็ไม่แพงนะ ทำไมถึงจู้จี้อย่างนี้” คำกล่าวเช่นนี้เป็นคำกล่าวที่ดูแล้วเหมือนเป็นการต่อว่าและเมื่อรับไม่ได้กับการต่อว่า การต่อว่าจู้จี้นั้นอาจจะเป็นเทคนิคของการเจรจาต่อรอง เพราะเป็นจุดอ่อนของคนที่มีอัตตาในตนเองสูงก็จะรู้สึกเหมือนถูกหยามหาว่า จู้จี้ ในบางครั้งก็ตนเองจะหลีกเลี่ยงไม่ให้ตนเองถูกต่อว่าโดยการยินยอมคือ ไม่เจรจาต่อรองและรับในทุกข้อเสนอนั่นเอง ทำไม? “การเจรจาต่อรอง” ถึงไม่ได้ดี
  3. กลัวความรุนแรงและกลัวการเผชิญหน้า เป็นความกลัวที่คนส่วนใหญ่จะรู้ถึงความไม่ปลอดภัยเท่าที่ควรเมื่อต้องเจรจาต่อรองเพราะคู่เจรจาต่อรองนั้นอาจะใช้สีหน้าที่เคร่งขรึม อารมณ์ที่ไม่ดี หรือมีท่าทางที่ไม่เป็นมิตร ทำให้รู้สึกว่าตนเองนั้นกำลังถูกคุกคามจากคู่เจรจาต่อรอง ทำให้รู้สึกว่าตนเองนั้นอาจจะเป็นผู้ยินยอมก็จะทำให้คลายความตึงเครียดลงไปทำไม? “การเจรจาต่อรอง” ถึงไม่ได้ดี
  4. กลัวคนอื่นไม่ชอบหน้า เป็นความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ ไม่ว่าอยู่ในสถานการณ์การณ์เช่นไร จะกำลังเจรจาต่อรองหรือไม่ มักอยากให้ตนเองนั้นมีมิตรย่อมดีกว่าไม่มีมิตรหรือมีคนรักย่อมดีกว่ามีคนชัง ซึ่งสังเกตได้ว่าหนังสือในเชิงจิตวิทยาจำนวนมากที่มุ่งเน้นเรื่องการสร้างเสน่ห์ การสร้างมิตรภาพ หรือการทำอย่างไรให้คนรัก จะเป็นหนังสือที่มียอดขายดีและสามารถที่จะถูกพิมพ์ออกมาได้เรื่อย ๆ มีความต้องการในการอ่านทุกยุคทุกสมัย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนจะรู้สึกมีดีทันทีถ้ามีผู้อื่นมาบอกว่าเขาไม่ชอบหน้า ดังนั้นการยินยอมของคนหลายคนนั้น เพียงเพื่อให้ตนเองนั้นได้รับความนิยมชมชอบจากผู้อื่นเท่านั้น ทำไม? “การเจรจาต่อรอง” ถึงไม่ได้ดี
  5. กลัวคนอื่นเสียใจ เสียความรู้สึก เป็นความรู้สึกถึงบริบทที่คนจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกเกรงใจผู้อื่น เมื่อต้องเจรจาต่อรองจึงทำให้ตนเองนั้นเกรงใจ มากไปกว่านั้นคือกลัวว่าเขาจะเสียใจ หรือเสียความรู้สึกกับตนเองที่เจรจาต่อรอง ความรู้สึกเกรงใจเช่นนี้อาจจะมาจากการที่เคยมีบุญคุณต่างตอบแทนกันมาก่อน แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่ไม่มีบุญคุณต่างตอบแทนแต่ตนเองก็ยังรู้สึกเกรงใจหรือกลัวว่าถ้าตนเองเจรจาต่อรองแล้ว คู่เจรจาต่อรองต้องให้ในสิ่งที่เราร้องขออาจทำให้เขาเสียใจหรือเสียความรู้สึกกับเราได้ ทำไม? “การเจรจาต่อรอง” ถึงไม่ได้ดี

 “ไม่แปลกอะไรที่จะมีความกลัว การเจรจาต่อรอง ถ้าคุณจะรักษาระดับของความกลัวให้อยู่ภายในจิตใจ
ไม่แสดงออกให้ใครรู้ เขาก็จะไม่รู้ว่า คุณกำลังกลัว เพราะ เขาก็อาจกำลัง กลัวคุณเช่นเดียวกัน”

นี่คือสาเหตุหลักที่ ทำไม? “การเจรจาต่อรอง” ถึงไม่ได้ดี

เขียนโดย ฝ่ายวิชาการ โรงเรียน การเจรจาต่อรอง หรือแนวคิดที่ว่า ทำไม? “การเจรจาต่อรอง” ถึงไม่ได้ดี